หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แบบจำลอง OSI






Open Systems Interconnection

OSI model by ISO ?
ก็อาจจะสับสนกันว่าไอ่คนบ้านนามันพิมพ์ถูกหรือเปล่า เปล่าหรอกครับ จะอธิบายให้ฟังตามประสาคนเพิ่งเรียนนะ ข้อมูลอาจจะตกไปบ้างก็ขอแนะนำว่าให้ศึกษาเพิ่มเติมครับ(เหมือนบอกตัวเองยังไงยังงั้น)

OSI model ชื่อเต็มๆว่า Open Systems Interconnection model
ISO มีชื่อเต็มๆ ว่า International Organization for Standardization ครับ


OSI model คือ แบบจำลองมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงบนเครือข่ายตามาตรฐานสากล ซึ่งกำหนดโดย ISO ซึ่งอนุญาติให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสือสารกันได้ ความแตกต่างที่ว่านั้นอาจจะเป็น สถาปัตยกรรม, ระบบปฏิบัติการ หรือแม่กระทั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ

แนวความคิดของการแบ่งชึ้นสื่อสาร(Layer) คือ
1. เพื่อให้ชั้นสื่อสารลดความซ้ำซ้อน ง่ายต่อความเข้าใจ
2. ชั้นสื่อสารสามารถจำแนกบทบาทได้ชัดเจน และแตกต่างกัน
3. ในชั้นสื่อสารจะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เท่านั้น
4. เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
5. ป้องกกันข้อผิดพลาดของข้อมูล
6. จำนวนต้องเหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เพียงพ่อต่กการทำหน้าที่

รายละเอียดของชั้นสื่อสารใน แบบจำลองระบบเปิด OSI Model ครับ

Physical layer ชั้นสื่อสารกายภาพ
- อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ สายสัญญาณ อุปกรณ์เชื่อมต่อ

Data link layer ชั้นสื่อสารการเื่ชื่อมต่อข้อมูล
- จัดรูปแบบข้อมูลในรูปแบบ เฟรม(Frame)

Netwok layer ชั้นสื่อสารการควบคุมเครือข่าย
- กำหนดเส้นทางเพื่อการขนส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ

Transpot layer ชั้นสื่อสารเพื่อนำส่งข้อมูล
- ชั้นนำส่งข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

Session layer ชั้นสื่อสารการควบคุมหน้าต่างการเชื่อมต่อ
- ควบคุมหน้าต่างในการเชื่อมต่อระหว่างต้นทาง กับปลายทาง

Presentation layer ชั้นสื่อสารการนำเสนอข้อมูล
- หน้าที่แปรข้อมูลเพื่อให้สื่อด้วยความหมายเดียวกัน

Application layer ชั้นสื่อสารโปรแกรมประยุกต์
- เป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน(User)มากที่สุด คือโปรแกรมระยุกต์ต่างๆ




OSI Model

Physical Layer Data line Layer Network Layer Transport Layer Sesion Layer
Presentation Layer Application Layer



--------------------------------------------------------------------------------
OSI Model
OSI Model เป็น medel มาตรฐานในการสื่อสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างระบบ 2 ระบบ ระบบจะเปิดการติดต่อสื่อสารในเค้าโครงสำหรับออกแบบ
ระบบเครื่อข่าย จะอนุญาตให้สื่อสารข้ามทุกรูปแบบของระบบคอมพิวเตอร์แยกเป็น 7 ชั้นแต่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นรูปแบบมาตรฐาน ISO

OSI Model ประกอบด้วย 7 Layer

1.Physical Layer
2.Data link Layer
3.Network Layer
4.Transport Layer
5.Sesion Layer
6.Presentation Layer
7.Application Layer






OSI layers


The OSI Environment




ทั้ง 7 สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1 Network support layer ได้แก่ Layer 1, 2, 3
กลุ่มที่ 2 Link ระหว่าง Network support layer กับ user support layer ได้แก่ layer 4
กลุ่มที่ 3 User support layer ได้แก่ layer 5, 6, 7

Functions of The Layers




Physical Layer

Physical ติดต่อระหว่างผู้รับ
การส่งต่อข้อมูล
สื่อกลาง & สัญญาณ
เครื่องมือการติดต่อ


Data link layer


ตัวอย่าง Data Link Layer




ควบคุมการส่งข้อมูลบน Physical link
ดูที่อยู่บนเครือข่าย Physical
Framing
ควบคุมให้เท่ากัน
ควบคุมการผิดพลาด (Error)
Synchronization ให้ผู้ส่งกับผู้รับใช้เวลาเดียวกันในส่งข้อมูล
ควบคุมการใช้สายสื่อสาร
Data Link Layer





Network layer

รับผิดชอบในการหาเส้นทางให้ส่งข้อมูลจากต้นทางไปปลายทาง
Switching & Routing
หาที่อยู่อย่างมีเหตุผล
ไม่ต้องใช้ Technology ชั้นสูง
ไม่ต้องใช้สายโดยตรง
Network Layer Example








Transport layer

ควบคุมการส่งข้อมูลจาก ต้นทางไปยังปลายทางข้อมูลใน Layer นี้เรียกว่า " package "
เหมือนกัน ใช้ port address
Segmentation & Reassembly
ส่งไปเป็นลำดับ Segment Number
ควบคุมการติดต่อ
Flow Control
Eroor Control
คุณภาพการบริการ (QoS)
Transport Layer


ตัวอย่าง Transport Layer


Session layer

ทำงานเกี่ยวกับการควบคุม dialog เช่น การเชื่อมต่อ บำรุงรักษา และ ปรับการรับ และส่งข้อมูลให้มีค่าตรงกัน
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนด Synchronizationเปิดและปิดการสนทนา ควบคุมดูแลระหว่างการสนทนา
Grouping คือ ข้อมูลประเภทเดียวกันจะจับกลุ่มไว้ใน Group เดียวกัน
Recovery คือ การกู้กลับข้อมูล

Presentation layer


เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลระหว่าง 2 ระบบ
Data Fromats และ Encoding
การบีบอัดข้อมูล (Data Compression)
Encryption - การเข้ารหัส Compression - การบีบ และอัดข้อมูล
Security - ควบคุมการ log in ด้วย Code, password
Presentation Layer




Application layer

เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไปช่วยในการบริการ เช่น e-mail , ควบคุมการส่งข้อมูล , การแบ่งข้อมูล
เป็นต้นยอมให้ user, software ใช้ข้อมูลส่วนนี้เตรียม user interface และ Support service ต่าง ๆ
เช่น E-mail

ทำ Network virtual Terminal ยอมให้ User ใช้งานระยะไกลได้
File transfer , access และ Management (FTAM)
Mail services
Directory service คือการให้บริการด้าน Data Base
Application Layer


Summary of Layer Functions


OSI Network Architecture


OSI Network Architecture


ตัวอย่างของ Protocols


Physical
WAN: T1,E1
LAN: 10/100 Base X
Interface: RS-232, X.21
Datalink
WAN: HDLC , PPP
LAN: Ethernet , Token Ring
Network

IPX, IP , X.25
Transport
TCP, UDP ,SPX NetBUEI
Session
NetBIOS
Presentation
X.216 / 266
Application
HTTP , FTP, SNMP

ข้อสอบ 20 พร้อมเฉลย

ข้อสอบปรนัย 20 ข้อ พร้อมเฉลย
วิชาการจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล ฯ

1.การสื่อสารโทรคมนาคมสามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภทใหญ่ๆ

A. 1 ประเภท B. 2 ประเภท
C. 3 ประเภท D. 3 ประเภท

2.ประเทศเป็นคนค้นพบการการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นประเทศแรก

A. สหรัฐอเมริกา B. อังกฤษ
C. เยอรมัน D. โปรตุเกส

3.ประเทศไทยมีการนำโทรศัพท์มาใช้ในสมัยรัชกาลใด

A. รัชกาลที่ 5 B. รัชกาลที่ 6
C. รัชกาลที่ 7 D. รัชกาลที่ 8

4.ประเทศไทยมีการนำโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรกในปี พ. ศ. ใด

A. พ.ศ.2423 B. พ.ศ.2424
C. พ.ศ.2425 D. พ.ศ.2426

5. การสื่อสารข้อมูลหมายถึง

A. การดูแลข้อมูลสารสนเทศ
B. การพูดคุยกันในห้องเรียน
C. กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู่รับโดยผ่านสื่อ
D. การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

6.เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึง

A. การนำคอมพิวเตอร์น้อยกว่าสองเครื่องมาวางเรียงกัน
B. การนำคอมพิวเตอร์มากกว่าสองเครื่องมาวางเรียงกัน
C. การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางการสื่อสาร
D. การนำคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องมาเชื่อมต่อกัน

7.องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถจำแนกส่วนประกอบเป็นกี่ส่วน

A. 3 ส่วน B. 4 ส่วน
C. 5 ส่วน D. 6 ส่วน

8.ชนิดของสัญญาณ มีกี่ชนิด

A. 1 ชนิด B. 2 ชนิด
C. 3 ชนิด D. 4 ชนิด

9.สัญญาณแอนาล็อกใช้หน่วยในการวัดคืออะไร

A. บิต B. กิโลเฮิรตซ์
C. ไบต์ D. เฮิรตซ์

10.สัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณแบบใด

A. แบบต่อเนื่อง B. แบบไม่ต่อเนือง
C. ข้อ A และข้อ B ถูก D. ไม่มีข้อถูก

11.เฮิรตซ์ (hertz) คือ หน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบใด

A. สัญญาณแอนะล็อก
B. สัญญาณดิจิตอล
C. สัญญาณดิจิตอลสัญญาณแอนะล็อก
D. ถูกทุกข้อ

12.MODULATE หมายถึง

A. การรวมสัญญาณ B. การกระจายสัญญาณ
C. การแปลงสัญญาณ D. ถูกทุกข้อ

13.multiplex หมายถึงอะไร

A. การกระจายสัญญาณ B. การรวมสัญญาณ
C. การแปลงสัญญาณ D. ไม่มีข้อถูก

14.การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องเทอร์มินอล หรือ คอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง โดยผ่านทางสายสื่อสารกี่สาย

A. 1 สาย B. 2 สาย
C. 3 สาย D. 4 สาย

15.การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดจึงเหมาะสมกับงานส่งรับข้อมูลในรูปแบบ

A. งานที่มีการส่งรับข้อมูลน้อยและต่อเนื่อง
B. งานที่มีการส่งรับข้อมูลเร็วไม่ต่อเนื่อง
C. งานที่มีการส่งรับข้อมูลมากๆแต่ไม่ต่อเนื่อง
D. งานที่มีการส่งรับข้อมูลมากๆและต่อเนื่อง

16.OSI Model หรือ OSI Reference Model มีชื่อเต็มว่าอย่างไร

A. Open Systems Automatic I TelephoneExchange
B. Open Systems International Organization for Standardization
C. Open Systems Interconnection Basic Reference Model
D. Open Systems I Modulation -Demodulation Device

17.OSI Model หรือ OSI Reference Model แบ่งย่อยออกเป็นกี่ชั้น

A. 5 ชั้น B. 6 ชั้น
C. 7 ชั้น D. 8 ชั้น

18.Data Link Layer ทำหน้าที่อย่างไร

A. เป็นตัวบันทึกข้อมูลไว้ใช้งาน
B. เป็นตัวกระจายข้อมูลไว้ติดต่อสื่อสาร
C. เป็นตัวเชื่อมโยงไปยังข้อมูลต่างๆ
D. เป็นตัวจัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง

19.ชั้นที่ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารคือชั้นใด

A. Transport Layer B. Data Link Layer
C. Presentation Layer D. Application Layer

20.OSI Model มีทั้งหมด 7 ชั้น อยากทราบว่าชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้คือชั้นใด

A. Data Link Layer B. Presentation Layer
C. Session Layer D. Application Layer







เฉลยข้อสอบปรนัย 20 ข้อ
1. B 2. A 3. A 4. B 5. C
6. C 7. D 8. B 9. D 10.B
11.A 12.C 13.B 14.A 15.D
16.C 17.C 18.D 19.A 20. D

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

OSI modle 7 Layer

OSI Model หรือ OSI Reference Model หรือชื่อเต็มว่า Open Systems Interconnection Basic Reference Model เป็นมาตรฐานการอธิบายการติดต่อสื่อสารและโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่ชื่อว่า International Organization for Standardization (ISO)
โมเดลนี้ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 7 ชั้นอันได้แก่ Application, Presentation, Session, Transportation, Network, Data Link และ Physical ตามลำดับจากบนลงล่าง เหตุผลที่โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแต่ละชั้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างชั้น ซึ่งโดยหลักๆแล้วแต่ละชั้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชั้นที่อยู่ติดกันกับชั้นนั้นๆ
• Application Layer - ชั้นที่เจ็ดเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซอร์ฟแวร์โปรแกรม ต่างๆที่อาศัยอยู่บนเลเยอร์นี้ เช่น DNS,HTTP,Browser เป็นต้น
• Presentation Layer - ชั้นที่หกเป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น [รูปภาพ,เอกสาร,ไฟล์วีดีโอ]
• Session Layer - ชั้นที่ห้านี้ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ(Web browser)สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง
• Transport Layer - ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end)โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port)ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
• Network Layer - ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน
• Data Link Layer - ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง
• Physical Layer - ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair(STP), Unshield Twisted Pair(UTP), Fibre Optic และอื่นๆ

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล

แบบวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลรายวิชา การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล ภาคเรียนที่ 2
ผู้ให้ข้อมูล นายราชัน นามวงษ์
1. ระดับผลการเรียน3.31
2. ความสามารถพิเศษ1)cเล่นกีฬา2)cร้องเพลง
3. ลักษณะเด่นขยันชื่อสัตย์.
4.ลักษณะด้อย......ใจร้อน.........เอาแต่ใจ
5.ปัญหาที่คิดว่าควรปรับเปลี่ยนหรือควรได้รับการแก้ไขของตนเอง (ปัญหาทั่วๆไป)1) การที่ไม่มีเหตุผล2)การเอาแต่ใจ
6.ปัญหาของท่านที่คิดว่าเป็นอุปสรรคต่อการเรียนปัญหาที่เกิดจากผู้เรียน1)อากาสร้อน2)ไม่มีต้นไม้3)ไม่เปิดแอร์ปัญหาที่เกิดจากผู้สอน1)cอื่นๆ2)3)
7.ปัญหาใดบ้างที่ต้องการให้อาจารย์ช่วยเหลือเพื่อให้การเรียนประสบผลสำเร็จ1)cการเรียนแบบตัวต่อตัวพร้อมอธิบายอย่างละเอียด2)cต้องการให้อธิบายและปฎิบัติไปด้วยเพื่อความเข้าใจของนักศึกษา
8.สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนวิชานี้1)cความรุ้ที่ดีและมากมาย2)cความขยันและอดทดมีมากขึ้น3)cความรู้เกี่ยวกับเลขฐานต่างๆ
9. เนื้อหาที่อยากรู้มากที่สุด1)การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล2)การลิ้งต่างไปหาเว็บ
10.ประโยชน์ที่คาดว่าจะนำไปใช้ได้ในอนาคต1)นำไปใช้ในการสอนเด็กได้2)เป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป
11.ท่านคิดว่าวิธีจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ วิธีใดบ้างที่น่าสนใจ1)cสอนพร้องอธิบายปฎิบัติไปด้วยจึงจะมองเห็นภาพ
12. วิธีการสอนแบบใดที่ท่านไม่ชอบและไม่อยากให้ความร่วมมือ1)cเผด็จการ
13.บรรยากาศในการเรียนแบบใดที่ส่งเสริมการเรียนรู้และทำให้ท่านสนใจเรียน1)อากาสโปรงใสหายใจได้สะดวก2)ไม่ร้อนอบอ้าว3)อากาสเย็นสะบาย
13.1 บรรยากาศที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน1)cร้อนอบอ้าว
14.ความถนัดในการเรียนและคิดว่าสามารถเรียนรู้ได้ดี (เลือกได้หลายข้อ)ฟังการบรรยายการอภิปรายการทำงานกลุ่มการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองอื่น ๆ15. ข้าพเจ้าอยากบอกอาจารย์ว่า (บรรยายได้ตามอิสระ)1)cสอนดีแล้ว* หมายเหตุให้ส่งอีเมล์หาอาจารย์โดยใช้หัวเรื่องว่า "เรียนวัน พุธ วิชา การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล ชื่อ-สกุล. นายราชัน นามวงษ์ 5213407104 .."

การเชื่อมโยงการสื่อสาร

การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด ( Point - to - Point )รูปการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องเทอร์มินอล หรือ คอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง โดยผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียวและความยาวของสายไม่ จำกัด สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ไม่ว่าจะเป็นแบบซิมเพล็กซ์ ครึ่งดูเพล็กซ์ หรือ ดูเพล็กซ์เต็มก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบ ซิงโครนัสหรือแบบ อะซิงโครนัสสายสื่อสารจะถูกจองการส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ( Lease Line ) ดังนั้นการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดจึงเหมาะสมกับงานที่มีการส่งรับข้อมูลมากๆ และต่อเนื่อง เช่น การเช่าสายโทรศัพท์เพื่อใช้ในระบบ ATM เป็นต้นการเชื่อมโยงแบบหลายจุด ( Multipoing or Multidrop )เนื่องจากการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากเกินไป และในการส่งข้อมูลส่วนใหญ่มักใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพของสาย สื่อสาร แบบการเชื่อมโยงที่คุ้มค่ากว่าคือการใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียว แต่เชื่อมต่อกับเทอร์มินัลได้หลายๆ เครื่อง หรือหลายๆ จุดรูปเทอร์มินัล 1 ดรอปรูปการเชื่อมโยงแบบหลายจุดแต่ละเทอร์มินัลที่ต่อเข้ากับสายสื่อสารมักจะมีบัฟเฟอร์สำหรับกักเก็บข้อมูลไว้ให้ได้มากที่สุดก่อนทำการส่งข้อมูลอกไป เพื่อจะได้ใช้ประสิทธิภาพ ได้อย่างเต็มที่ และในขณะที่ยังไม่มีการส่งข้อมูลสามารถเปิดโอกาสให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ในกรณีที่แต่ละเทอร์มินัลส่งข้อมูลออกมาพร้อมกัน ข้อมูลจะชนกัน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลได้ จึงจำเป็นต้องมีศูนย์กลางควบคุมเพื่อ จัดการควบคุมทิศทางของการไหลของข้อมูลการเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตขิ่ง ( Switching Network)การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตชิ่งเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดในการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดได้มากที่สุดรูป การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่งในการทำงานของการเชื่อมโยงแบบสวิตซ์ชิ่งนั้น ประกอบด้วย1. การเชื่อมโยงการสื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนจะเริ่มส่ง - รับข้อมูล เช่น ต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ก่อนจะเริ่มพูดกับปลายทางได้ โดยมีเครือข่าย สวิตซิ่งเชื่อมโยงคอยสลับสายให้2. การเชื่อมโยงการสื่อสารจะเป็นแบบจุดต่อจุด คือคุยกันแค่ 2 คนเท่านั้น3. เมื่อจบการส่งข้อมูลแล้ว จะต้องตัดการเชื่อมโยงระหว่าง 2 จุดนั้น เพื่อให้สายการสื่อสารว่าง เพื่อให้สายอื่นเชื่อมต่อได้

การ multiplex


การ multiplexing ความหมายของ Multiplexing ก็คือ การรวม (combination)ให้ช่องสัญญาณที่มีขนาดความจุของข่าวสารต่ำ สามารถใช้งานผ่านสื่อสัญญาณ(transmission Media)ที่มีขนาดความจุสูงชุดเดียวกันได้ ทำให้ความจุของระบบสื่อสัญญาณนั้นถูกใช้งานอย่างคุ้มค่า(utilization)ที่สุด หลักการของการ Multiplex
เป็นเทคนิคที่ถูกนำมาใช้งานกับการส่งสัญญาณแบบ analog โดยที่ในชั้นต้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถใช้โทรศัพท์ได้มากกว่า 1 call บนระบบสื่อสัญญาณ( transmission )ชุดเดียวกัน หลักการทำงานของระบบ FDM ก็คือสัญญาณโทรศัพท์แต่ละ call ที่ต้องการส่งไปยังปลายทางจะถูกนำมา modulated กับ different carrier frequencies โดยที่เราจะต้องแน่ใจว่าเมื่อ modulated กับ carriers เหล่านี้แล้ว จะไม่ทำให้เกิด bandwidth overlap ในสัญญาณแต่ละชุดที่กล่าวมาแล้วนั้น ปกติแล้ว voice หรือสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะมี bandwidth 3100 Hz(ความถี่อยู่ในช่วง 300 - 3400 Hz) ดังนั้นในทางปฏิบัติในการ Multiplex ขั้นต้น different carrier frequencies แต่ละตัวจะมีช่วงห่าง 4000 Hz หรือ 4 kHz ซึ่งเพียงพอแล้วที่จะไม่ทำให้เกิด bandwidth overlap ขึ้นกับสัญญาณโทรศัพท์แต่ละชุด ระบบ FDM นี้ได้ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในทศวรรษ 1930s โดยที่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้พร้อมกัน 12 calls บน transmission ชุดเดียวกัน และในปี 1939 ได้เริ่มมีการนำระบบ FDM ที่มีความจุสูงถึง 600 วงโทรศัพท์มาใช้งานโดยเป็นการใช้งานผ่าน coaxial cable เราสามารถแสดงหลักการของ FDM

การ modulate


MODULATE หมายถึง การเปลี่ยน ปรับเปลี่ยน ในภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึงการเปลี่ยนรูปแบบสัญญาณ พูดง่ายก็คือการแปลงสัญญานนั่นเองDEMODULATE ก็กลับกัน คือแปลงสัญญาณ หรือถอดสัญญาณจากสายโทรศัพท์กลับให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม
การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง โดยส่งผ่านสัญญาณ โทรศัพท์ ลักษณะสัญญาณทั่วไปนั้นจะส่งกันแค่ สัญญาณเสียงและข้อความ Voice & Fax Message เค้าเรียกว่า ระบบอะนาล็อก (ไม่ต้องไปสนใจว่ามันคืออะไร)แต่สัญญาณที่ส่งมาจากคอมพิวเตอร์ มันเป็นอีกระบบที่ ภาษาช่างเรียกว่า สัญญาณดิจิตอล เมื่อมันเป็นคนละแบบ จึงต้องมีตัวแปลง/เปลี่ยน สัญญาณ จากคอมพิวเตอร์ เพื่อสามารถส่งผ่านไปทางสายโทรศัพท์ได้ เรียก Modulate เมื่อปลายทางได้รับสัญญาณก็แปลงกลับ เรียก Demodulateอย่าสับสนนะครับ เพราะเจ้าคำสั่งสองตัวนี้ อยู่บนตัวเดียวกัน ที่เราเรียกกันติดปากว่า MODEM

ชนิดของสัญญาณ

ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1. สัญญาณแอนะล็อก (analog signal)
เฮิรตซ์ (hertz) คือ หน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัด
ความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที
2. สัญญาณดิจิทัล (digital signal)
Bit rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับ
จำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที

ชนิดของสัญญาณข้อมูล
สัญญาณอนาล๊อก (Analog signal) คือ เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ที่มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์(Sine Wave) โดยหน่วยวัดสัญญาณแบบนี้คือ เฮิรตซ์(Hertz) โดยมีลักษณะสมบัติ 2 ประการคือ
ความถี่ของคลื่น (Frequency) คือ จำนวนครั้งที่คลื่นทวนซ้ำระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด หมายถึง จำนวนครั้งที่คลื่นจะเสร็จสิ้นหนึ่งรอบในหนึ่งวินาที ความถี่ที่ถูกเพิ่มขึ้นจะถูกแทนด้วย 1
ช่วงกว้างของคลื่น (Ampitude) คือ ความสูงของคลื่นภายในคาบเวลาที่กำหนด ความกว้าง หมายถึง ความดังของสัญญาณเสียง โดยกำหนดให้เสียงที่ดังเพิ่มขึ้นถูกแทนด้วย 1

สัญญาณดิจิตอล (Digital signal) คือ สัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง โดยรูปแบบของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลง ที่ไม่ปะติดปะต่อกัน อัตราการส่งข้อมูลมีหน่วยเป็น bps หรือ Bit Per Second

องค์ประกอบเบื้องต้นของการสื่อสาร

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย 1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) 2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) 3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media) 4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers) 5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
ช่องสัญญาณ (Channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
การเข้ารหัส (Encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
การถอดรหัส (Decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
สัญญาณรบกวน (Noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (Filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การที่นำเอาคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นสายเคเบิล สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด หรือสัญญาณดวาเทียม ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายนั้นสามารถติดต่อหรือทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

การสื่อสารข้อมูลหมายถึง


.การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

โทรคมนาคมหมายถึง

1."โทรคมนาคม"หมายถึงการติดต่อสื่อสารทางไกลการรับส่งหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารรูปแบบต่างๆ โดยมีสายรับส่งคลื่นวิทยุหรือสื่อกลางอื่นๆ เพื่อขยายขอบเขตการรับส่งหรือแลกเปลี่ยนให้กว้างไกลขึ้น เราสามารถแบ่งการสื่อสารโทรคมนาคมเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แบบ Undirectionการสื่อสารทางเดียว เช่นวิทยุ,โทรทัศน์) และแบบBidirection(การสื่อสารทั้งสองทาง เช่นโทรศัพท์ โทรเลข, Data Communication) เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบอยู่ตามลำพังการสนทนาจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร