หน้าเว็บ

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบ

นายราชัน นามวงษ์ รหัส 5213407104 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ข้อสอบ

1. ระบบเครือข่ายไร้สายเกิดขึ้นครั้งแรกปี ค.ศ ใด
ก. ค.ศ. 1970 ข. ค.ศ. 1971
ค. ค.ศ. 1972 ง. ค.ศ. 1973
2. ระบบเครือข่ายไร้สายเข้าสู่ประเทศไทยปี พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ.2541 ข. พ.ศ.2542
ค. พ.ศ.2553 ง. พ.ศ.2544
3. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมีกี่รูปแบบ
ก. 5 ข. 4
ค. 3 ง. 2
4. มาตรฐาน IEEE 802.11 รับส่งข้อมูลอัตราความเร็วสูงสุดกี่เมกะบิต
ก. 2 เมกะบิต ข.3 เมกะบิต
ค. 4 เมกะบิต ง. 5 เมกะบิต
5. มาตรฐาน IEEE 802.11a รับส่งข้อมูลอัตราความเร็วสูงสุดกี่เมกะบิต
ก. 50 เมกะบิต ข. 54 เมกะบิต
ค. 60 เมกะบิต ง. 62 เมกะบิต
6. มาตรฐาน IEEE 802.11b รับส่งข้อมูลอัตราความเร็วสูงสุดกี่เมกะบิต
ก. 10 เมกะบิต ข. 12 เมกะบิต
ค. 11 เมกะบิต ง. 13 เมกะบิต
7. มาตรฐาน IEEE 802.11g รับส่งข้อมูลอัตราความเร็วสูงสุดกี่เมกะบิต
ก. 54 เมกะบิต ข. 64 เมกะบิต
ค. 74 เมกะบิต ง. 84 เมกะบิต
8. เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่ใช้ในการส่งสัญญาณนั้นมีอยู่กี่ประเภท
ก. 1 ประเภท ข.2 ประเภท
ค. 3 ประเภท ง. 4 ประเภท
9. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อพื้นฐานเครือข่ายไร้สายมีอยู่กี่ประเภท
ก. 1 ประเภท ข.2 ประเภท
ค. 3 ประเภท ง. 4 ประเภท
10. การส่งสัญญาณเทคนิค Spread Spectrum สามารถแบ่งได้เป็นกี่แบบ
ก. 1 แบบ ข.4 แบบ
ค. 3 แบบ ง. 2 แบบ

11. DSSS ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก. Direct Sequence Spread Spectrum
ข. Dreect Sequence Speed Spectrum
ค. Direct Sequence Spread Spectreem
ง. ไม่มีข้อถูก
12. WiMAX เป็นชื่อย่อของคำว่าอะไร
ก. Worldwide Interoperability for Microwave Accored
ข. Werldwide Interboerability for Microwave Access
ค. Worldwide Interoperability for Microwave Access
ง. Worldwide Interoperabilaty for Microwave Access
13. มาตรฐาน IEEE 802.16 รับส่งข้อมูลอัตราความเร็วสูงสุดกี่เมกะบิต
ก. 54 เมกะบิต ข. 75 เมกะบิต
ค. 64 เมกะบิต ง. 84 เมกะบิต
14. การพัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนใด
ก. เมษายน 2004 ข. กุมพาพันธ์ 2004
ค. มีนาคม 2004 ง. มกราคม 2004
15. ประโยชน์ของเครือข่ายไร้สายคือข้อใด
ก. ระบบมีความคล่องตัวสูง ข. ง่ายต่อการติดตั้ง
ค. สามารถขยายเครือข่ายได้ ง. ถูกทุกข้อ


เฉลย
1. ข 2. ง 3. ก 4. ก 5. ข
6. ค 7. ก 8. ข 9. ค 10. ง
11. ก 12. ค. 13. ข 14. ง 15. ง

Wireless LAN ระบบเครือข่ายไร้สาย

อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย
1. บทนำ
ปัจจุบันนี้เป็นยุคของเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายเพื่อให้คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ จากในยุคแรก ๆ ที่เทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายเป็นแบบแลนที่ต้องใช้สายในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยระบบเครือข่ายที่ปราศจากสาย สามารเชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องมีปัญหายุ่งยากเรื่องสายอีกต่อไป จากการใช้ระบบเครือข่ายไร้สายที่มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในวงการธุรกิจที่นักธุรกิจมีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ หรือในวงการศึกษาที่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถใช้งานโน็ตบุ๊คเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย แพทย์สามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊คที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที จะเห็นได้ว่าเครือข่ายไร้สายมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งรวมถึงตัวอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการผลิตออกมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้ผู้ที่มีความสนใจที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย เพื่อจะได้สามารถใช้เครือข่ายไร้สายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. ความหมายของเครือข่ายไร้สาย
เครือข่ายไร้สาย หมายถึง ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง หรือขยายเครือข่าย โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการถ่ายโอนข้อมูลผ่านอากาศแทนการใช้สายสัญญาณสะดวกต่อการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูล (Wireless LAN Association 2006)เครือข่ายไร้สาย หมายถึง เครือข่ายเฉพาะที่ ถ่ายโอนข้อมูลผ่านอากาศในย่านความถี่วิทยุที่อนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณ จุดส่งสัญญาณ(Access points) แต่ละจุดสามารถส่งได้ไกลหลายร้อยฟุต และสามารถทะลุกำแพงหรือสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ได้ และสามารถใช้สัญญาณพร้อมกันได้หลายคนเหมือนกับระบบโทรศัพท์เซลลูล่า(TechEncyclopedia 2007)ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN= Wireless Local Area Network) คือ ระบบการ สื่อสารข้อมูลที่นำมาใช้ทดแทน หรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิมโดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และคลื่นอินฟราเรดในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องผ่านทางอากาศ ทะลุกำแพง เพดาน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วย เช่นกันโดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น(สถานศึกษาวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2548)จากความหมายทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่าเครือข่ายไร้สาย หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุหรือคลื่นอินฟาเรดแทนการใช้สายสัญญาณ โดยที่คลื่นสามารถทะลุสิ่งกีดขวาง เช่น อาคารหรือสิ่งก่อสร้างได้

3. ประวัติความเป็นมาเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวายโดยโปรเจกต์ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็น
แบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่องซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆ หนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu
(ระบบเครือข่ายไร้สาย 2548)เทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สายได้นำเข้ามาใช้งานในเมืองไทยประมาณต้นปี 2544 ในขณะนั้นเสียงตอบรับจากผู้ใช้งานยังค่อนข้างน้อย เนื่องจากอุปกรณ์ไร้ สายมีราคาแพงจนกระทั่งปัจจุบันระบบเครือข่ายไร้สายเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากราคาอุปกรณ์ถูกลงมากประกอบกับทางบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายได้ปลุกกระแสการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายอีกครั้งโดยการหยิบยกจุดเด่นของเทคโนโลยีที่ไม่ต้องพึ่งพาสายสัญญาณสำหรับสื่อสารข้อมูลเป็นจุดขายกล่าวคือผู้ใช้งานสามารถเชื่อมโยงเข้าระบบเครือข่ายจากพื้นที่ใดก็ได้ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณ และระบบสามารถแก้ปัญหาเรื่องการติดตั้งสายสัญญาณในพื้นที่ที่ทำได้ลำบาก เทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สายได้สร้างภาพลักษณ์ ใหม่ของการใช้งานระบบเครือข่ายซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานอยู่กับที่ แต่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานยังที่ต่างๆ ได้ ตามใจต้องการ เช่น สวนหย่อม สนามหญ้าหน้าบ้าน หรือริมสนามเป็นต้น (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2549)


4. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย
4.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )
รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย
โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุมหรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่



รูปที่ 1 แสดงการเชื่อมต่อแบบ Ad hoc mode

4.2 Client/server (Infrastructure mode)
ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ
รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็นเครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Serverเพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง
15-50 อุปกรณ์ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น




รูปที่ 2 แสดงการเชื่อมต่อแบบ access point

4.3 Multiple access points and roaming
โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคารหากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง





รูปที่ 3 แสดงการเชื่อมต่อแบบ Multiple access point and roaming

4.4 Use of an Extension Point
กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สายเป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ



รูปที่ 4 แสดงการเชื่อมต่อแบบการใช้ Extension Point

4.5 The Use of Directional Antennas
ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคาร
ที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน



รูปที่ 5 แสดงการเชื่อมต่อแบบการใช้ Directional Antennas

5. มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย
มาตรฐานหลักของระบบเครือข่ายไร้สายและอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย คือ มาตรฐาน IEEE802.11 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กรมาตรฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE
(Institute of Electrical and Electronic Engineers)เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยสถาบัน IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) ซึ่งมีข้อกำหนดระบุไว้ว่าผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายในส่วนของ PHY Layer นั้นมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว1, 2, 5.5, 11 และ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีสื่อนำสัญญาณ 3 ประเภทให้เลือกใช้งานอันได้แก่คลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์, 2.5 กิกะเฮิรตซ์และคลื่นอินฟาเรด ส่วนในระดับชั้นMAC Layer นั้นได้กำหนดกลไกของการทำงานแบบ CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐานIEEE 802.3 Ethernet ซึ่งนิยมใช้งานบนระบบเครือข่ายแลนใช้สาย โดยมีกลไกในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนแพร่กระจายสัญญาณไปบนอากาศพร้อมกับมีการตรวจสอบผู้ใช้งานอีกด้วย
มาตรฐาน IEEE 802.11 ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการ
รับรองคุณภาพของการให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสำคัญใสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชันหลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่นำมาใช้ก็ยังมีช่องโหว่จำนวนมาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อทำการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น โดยตัวอักษรที่อยู่ด้านหลังจะเป็นตัวบอกว่าเป็นกลุ่มที่พัฒนาในด้านใด และตัวอักษรนั้นก็ไม่ได้เรียงตาม ตัวอักษรขึ้นอยู่กับว่ามาตรฐานของกลุ่มใดทำเสร็จก่อนก็จะออกมาเปิดตัวก่อน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
(Wireless LAN Technology 2549)

5.1iIEEEi802.11a
เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM
(Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ไร้สายมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย
5.2iIEEEi802.11b
เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปีพ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกเฮิรตซ์
ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานในแบบสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และ
การแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth,
โทรศัพท์ไร้สายและเตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนของ
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุนการใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่า
มาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi
ซึ่งกำหนดขึ้นโดย WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ
เครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE
802.11b ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันกับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้

5.3iIEEEi802.11g
เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูลในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11bได้ (Backward-Compatible)
5.4iIEEEi802.11e
เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชันทางด้านมัลติมีเดี่ยยอย่าง VoIP
(Voice over IP)เพื่อควบคุมและรับประกันคุณภาพของการใช้งานตาม
หลักการ QoS (Quality ofService) โดยการปรับปรุง MAC Layer ให้มีคุณสมบัติในการรับรองการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ
5.5iIEEEi802.11f
มาตรฐานนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม IAPP (Inter Access Point Protocol) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับจัดการกับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ข้ามเขตการให้บริการของ Access Point ตัวหนึ่งไปยัง Access Point เพื่อให้บริการในแบบโรมมิงสัญญาณระหว่างกัน
5.6iIEEEi802.11h
มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์
ให้ทำงานถูกต้องตามข้อกำหนดการใช้ความถี่ของประเทศในทวีปยุโรป
5.7iIEEEi802.11i
เป็นมาตรฐานในด้านการรักษาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สาย โดยการ
ปรับปรุง MAC Layer เนื่องจากระบบเครือข่ายไร้สายมีช่องโหว่มากมายในการใช้งาน โดยเฉพาะ
ฟังก์ชันการเข้ารหัสแบบ WEP 64/128-bit ซึ่งใช้คีย์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับสภาพการใช้งานที่ต้องการความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของการสื่อสารระดับสูง มาตรฐาน IEEE802.11i จึงกำหนดเทคนิคการเข้ารหัสที่ใช้คีย์ชั่วคราวด้วย WPA, WPA2 และการเข้ารหัสในแบบ AES(Advanced Encryption Standard) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูง
5.8iIEEEi802.11k
เป็นมาตรฐานที่ใช้จัดการการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย ทั้งจัดการการใช้งาน
คลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพ มีฟังก์ชันการเลือกช่องสัญญาณ, การโรมมิงและการควบคุมกำลังส่ง
นอกจากนั้นก็ยังมีการร้องขอและปรับแต่งค่าให้เหมาะสมกับการทำงาน การหารัศมีการใช้งานสำหรับเครื่องไคลเอนต์ที่เหมะสมที่สุดเพื่อให้ระบบจัดการสามารถทำงานจากศูนย์กลางได้
5.9iIEEEi802.11n
เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่คาดหมายกันว่าจะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน
IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับ 100 เมกะบิตต่อวินาที
5.10iIEEEi802.1x
เป็นมาตรฐานที่ใช้งานกับระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งก่อนเข้าใช้งานระบบเครือข่าย
ไร้สายจะต้องตรวจสอบสิทธิ์ในการใช้งานก่อน โดย IEEE 802.1x จะใช้โพรโตคอลอย่าง LEAP,
PEAP, EAP-TLS, EAP-FAST ซึ่งรองรับการตรวจสอบผ่านเซิร์ฟเวอร์
เช่น RADIUS, Kerberos เป็นต้น
จะเห็นได้ว่ามาตรฐานที่ใช้งานในเครือข่ายไร้สายจะมีหลายมาตรฐาน แต่มาตรฐานที่เป็น
ที่รู้จักและสามารถใช้งานในประเทศไทยได้มีอยู่ 3 มาตรฐานคือ IEEEi802.11a, IEEEi802.11b และ
IEEEi802.11g และที่ได้รับความนิยมมากคือมาตรฐาน IEEE 802.11b และในการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในเครือข่ายไร้สายนั้น ก่อนตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ใดๆ ผู้ซื้อควรตรวจสอบรายละเอียดของอุปกรณ์แต่ละชนิดให้เรียบร้อย โดยตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นรองรับมาตรฐานใด และมาตรฐานนั้นได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการแล้วหรือไม่ การตรวจสอบรายละเอียดก่อนการเลือกซื้ออุปกรณ์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ เพื่อจะได้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา

6. เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย
เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่ใช้ในการส่งสัญญาณนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทที่ใช้สัญญาณ
คลื่นความถี่วิทยุซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ Narrow band และ Spread spectrum และประเภทที่ใช้สัญญาณอินฟราเรดในการติดต่อรับ-ส่งข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2549)
6.1 ประเภทที่ใช้สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ
6.1.1 Narrow band Technology เป็นระบบวิทยุแบบความถี่แคบ เป็นการรับส่งความถี่ 902
MHz ถึง 928 MHz, 2.14 MHz ถึง 2.484 และ5.725 MHz ถึง 5.850 MHz สัญญาณจะมีกำลังต่ำ
(โดยทั่วไปประมาณ 1 มิลลิวัตต์) และใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทางเพียง 1 คู่
เท่านั้น
6.1.2 Spread spectrum technology ระบบเครือข่ายไร้สายส่วนใหญ่นิยมใช้เทคนิค Spread
Spectrum Technology ซึ่งใช้ความถี่ที่กว้างกว่า Narrow Band Technology ซึ่ง Spread Spectrum คือ
ช่วงความถี่ระหว่าง 902-928 MHz และ2.4-2.484 GHz โดยการส่งสัญญาณเทคนิค Spread Spectrum สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ Direct Sequence และ Frequency-Hopping
- Direct Sequence Spread Spectrum (DSSS) เป็นเทคนิคที่ยังใช้คลื่นพาหะโดยสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบ Narrow Band วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่มีการแทรกสอดรบกวนจากคลื่นวิทยุอื่น ๆ อย่างรุนแรง
- Frequency – Hopping Spread Spectrum (FHSS) การส่งสัญญาณรูปแบบนี้จะใช้
ความถี่แคบพาหะเพียงความถี่เดียว (Narrow Band) โดยเน้นการนำไปใช้งาน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าถ้าคำนึงถึงปัญหาทางด้านประสิทธิภาพและคลื่นรบกวนก็ควรใช้ วิธี DSSS ถ้าต้องการใช้ Adapterไร้สายขนาดเล็กและราคาไม่แพงสำหรับเครื่อง Notebook หรือเครื่อง PDAก็ควร
เลือกแบบ FHSS
6.1.3 Orthogonal frequency division multiplex (OFDM) เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่ม
ความเร็วในการส่งข้อมูลตามมาตรฐานใหม่ ๆ ของระบบเครือข่ายไร้สาย คือ IEEE802.11a และ
802.11g การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุแบบนี้เป็นการ Multiplex สัญญาณโดยช่องสัญญาณความถี่จะถูก
แบ่งออกเป็นความถี่พาหะย่อย (subcarrier) หลาย ๆ ความถี่ โดยแต่ละความถี่พาหะย่อยจะตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทำให้เป็นอิสระต่อกัน ความถี่ที่คลื่นพาหะที่ตั้งฉากกันนั้นทำให้ไม่มีปัญหาการซ้อนทับของสัญญาณที่อยู่ติดกัน
6.2 Infrared Technology
ลำแสงอินฟราเรด (Infrared : IR) เป็นส่วนหนึ่งของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ในย่านความถี่ของแสงที่อยู่ต่ำกว่าแสงสีแดงที่ตาของคนเราจะไม่สามารถมองเห็น ถูกนำมาใช้เพื่อการสื่อสารที่ใช้ในระยะใกล้ ได้แก่ อุปกรณ์ควบคุมแบบไร้สาย (Wireless Remote Control) ที่ควบคุมเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook คุณสมบัติเด่นของคลื่นอินฟราเรดและคลื่นสั้น คือเดินทางเป็นแนวตรง ราคาถูก และง่ายต่อการผลิตใช้งาน แต่คลื่นประเภทนี้ไม่สามารถเดินทางผ่านวัตถุหรือสิ่งกีดขวางได้

7. อุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย
ในการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อพื้นฐานมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ LAN Adapters, Wireless Access Point, Outdoor Wireless Bridge นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
7.1 LAN Adapters
เป็น Adapter แบบไร้สายซึ่งทำหน้าที่พื้นฐานคล้าย ๆ แบบใช้สายซึ่งมี Interface แบบ
PCMCIA(Personal Computer Memory Card International - Association), PCI(Peripheral ComponentInterconnect Cards), ISA(Industry Standard Architecture Cards), Cardbus และ USB มีหน้าที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโครงข่ายได้ ในเครือข่าย LAN แบบใช้สาย, Adapter เป็นตัว Interface ระหว่างOS ของระบบเครือข่ายและสายสัญญาณ ส่วนในเครือข่าย WLAN จะทำหน้าที่เป็น Interface ระหว่างOS ของระบบเครือข่ายกับเสาอากาศ เพื่อจะสร้างการเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายอื่นต่อไป (มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2549) ซึ่งมีรายละเอียดของ Adapter แต่ละรูปแบบ ดังนี้
7.1.1 แลนการ์ดไร้สายแบบ PCMCIA (Wireless PC Card) แลนการ์ดไร้สายแบบ
PCMCIA เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ที่มีช่องเชื่อมต่อแบบ PCMCIA
แลนการ์ดไร้สายแบบ PCMCIA ทำหน้าที่ในการแปลง ข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งเป็นคลื่นวิทยุส่งผ่านอากาศออกไปและทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายอื่นๆบนระบบ
แพร่กระจายออกมาแปลงกลับเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้
(กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2549)

รูปที่ 6 แลนการ์ดไร้สาย PCMCIA สำหรับติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook

7.1.2 แลนการ์ดไร้สายแบบ PCI (Wireless PCI Card) อีกทางเลือกหนึ่งในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะสามารถใช้งานระบบเครือข่ายแลนไร้สายได้ นั่นคือการติดตั้งแลนการ์ด
ไร้สายแบบ PCI แทนการใช้แลนการ์ดไร้สายแบบ PCMCIA ร่วมกับการ์ดแปลงอินเตอร์เฟส PCI ซึ่งนับว่าเป็นการลดความยุ่งยากในการติดตั้งอุปกรณ์ นอกจากนี้แลนการ์ดไร้สายแบบ PCI ยังมีสายอากาศที่ติดตั้งภายนอกทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลมากขึ้น


รูปที่ 7 แลนการ์ดไร้สายแบบ PCI สำหรับติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

7.1.3 แลนการ์ดไร้สายแบบ USB (Wireless USB Card) แลนการ์ดไร้สายแบบ USB
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ที่มีพอร์ต
USB ลักษณะการทำงานของแลนการ์ดไร้สายแบบ USB จะเหมือนกับแลนการ์ดไร้สายแบบ PCMCIAและแบบ PCI แต่จะต่างกันตรงที่แลนการ์ดไร้สายแบบ USB ใช้ติดตั้งภายนอก ทำให้สะดวกในการติดตั้ง (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2549)




รูปที่ 8 แลนการ์ดไร้สายแบบ USB สำหรับติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือ Notebook

7.1.4 แลนการ์ดไร้สายแบบ CF (Wireless CF Card) แลนการ์ดไร้สายแบบ CF เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งบนเครื่อง Pocket PC หรือ PDA (Personal Data Assistant) ที่มีช่องเชื่อมต่อแบบ CF แลน
การ์ดไร้สายแบบ CF ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลของเครื่อง PDA ที่ต้องการส่งเป็นคลื่นวิทยุส่งผ่านสายอากาศออกไป และทำหน้าที่รับเอาคลื่นวิทยุที่อุปกรณ์ เครือข่ายไร้สายอื่นๆ บนระบบแพร่กระจายออกมาในอากาศแปลงกลับเป็นข้อมูลที่เครื่อง PDA สามารถนำไปประมวลผลได้
(กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2549)


รูปที่ 9 แลนการ์ดไร้สายแบบ CF



รูปที่ 10 แลนการ์ดไร้สายแบบ CF สำหรับติดตั้งบนเครื่อง Pocket PC

7.2 อุปกรณ์จุดเชื่อมโยง (Wireless Access Point)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้าย Hub ของระบบ LAN แบบใช้สาย โดยจะทำหน้าที่เป็นBuffers และส่งข้อมูลระหว่าง WLAN และโครงสร้างแบบใช้สาย สนับสนุนการใช้งานของอุปกรณ์ไร้สายแบบเป็นกลุ่ม ซึ่งตัว Access Point โดยจะเชื่อมต่อกับ Backbone ของโครงข่ายใช้สายผ่านมาตรฐานเคเบิลแบบ Ethernet และสื่อสารกับอุปกรณ์ไร้สายผ่านเสาอากาศ รัศมีของการเชื่อมต่อกับ
Access Point เรียกเป็น Microcell มีระยะอยู่ที่ 20 เมตรถึง 500 เมตร และ Access Point หนึ่งตัว
สนับสนุนผู้ใช้งานได้ 15 ถึง 250 คน (มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2549)



รูปที่ 11 Wireless Access Point


7.3 สะพานเชื่อมโยงเครือข่าย (Outdoor Wireless Bridge)
ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับอาคารอื่น ๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการลากสายFiber Optic ระหว่างอาคารมีราคาสูง โดยเฉพาะถ้ามีสิ่งก่อสร้างขวางกั้นอยู่ด้วย เช่นทางด่วน หรือแม่น้ำลำคลอง WLAN Bridge จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะให้อัตรารับส่งข้อมูลสูง และมีรัศมีการรับส่งหลายไมล์ แต่ต้องอยู่ในลักษณะระดับสายตา line-of-sight (มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าธนบุรี 2549)


รูปที่ 12 Outdoor Wireless Bridge
7.4 อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ
7.4.1 เครื่องพิมพ์แม่ข่ายแบบไร้สาย (Wireless Print Server) อุปกรณ์พรินเซิร์ฟเวอร์ไร้สายทำหน้าที่เป็นเครื่องพิมพ์แม่ข่ายให้บริการงานพิมพ์แก่คอมพิวเตอร์ลูกข่ายบนระบบเครือข่ายแลนไร้สายการแชร์เครื่องพิมพ์ทำได้โดยต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับพอร์ตขนานของพรินเซิร์ฟเวอร์ไร้สายจากนั้น
ก็สามารถใช้งานเครื่องพิมพ์จากพื้นที่ที่ใดก็ได้ที่อยู่ในรัศมีการให้บริการ
(กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2549)

รูปที่ 13 Wireless PrintServer

7.4.2 สายอากาศ (Antenna) สายอากาศเป็นตัวช่วยให้อุปกรณ์เครือข่ายแลนไร้สายสามารถ
แพร่กระจายคลื่นออกไปในอากาศทิศทางต่างๆซึ่งสามารถแบ่งออกตามการแพร่กระจายคลื่นดังนี้ (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2549)
- สายอากาศแบบ Omni Directional เป็นสายอากาศที่มีลักษณะการกระจายคลื่นในแนวรอบ ๆสายอากาศ โดยคลื่นจะถูกแพร่กระจายออกไปยังทุกทิศทาง ซึ่งสายอากาศประเภทนี้
นิยมใช้ในงานภายนอกอาคาร (Indoor) หรือใช้สำหรับการเชื่อมโยงแบบจุดไปหลายจุด



รูปที่ 14 สายอากาศแบบ Omni Directional

- สายอากาศแบบDirectional เป็นสายอากาศที่มีลักษณะการกระจายคลื่นในแนวทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบังคับทิศทางการรับส่งคลื่นได้ตามที่ต้องการ สายอากาศประเภทนี้นิยมใช้ในงานภายนอกอาคาร (Outdoor) สำหรับการเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด

รูปที่ 15 สายอากาศแบบ Directional

อุปกรณ์เครือข่ายแลนไร้สาย เช่น Access Point และแลนการ์ดไร้สายส่วนใหญ่ใช้สายอากาศแบบ Omni Directional ซึ่งอุปกรณ์บางรุ่นถูกออกแบบมาให้สามารถปรับเปลี่ยนสายอากาศเพื่อเพิ่ระยะทางในการรับส่งคลื่นให้ได้ไกลมากขึ้น สายอากาศที่นำมาปรับเปลี่ยนนี้เรียกว่า สายอากาศเกณฑ์สูง (High Gain Antenna) ขนาดความถี่ 2.4 GHz ยิ่งเกณฑ์ของสายอากาศสูงเท่าไร ระยะทางที่สามารถส่งคลื่นออกไปก็ได้ไกลมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งค่าของเกณฑ์มีตั้งแต่
2.2 dBi, 5.2 dBi, 8 dBi, 12 dBi, 12 dBi, 13.5 dBi และ 21 dBi
ดังนั้นหากต้องการออกแบบระบบเครือข่ายแลนไร้สายให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ
ได้กว้างไกล ก็สามารถเปลี่ยนมาใช้สายอากาศเกณฑ์สูงแทนสายอากาศเดิมของอุปกรณ์เครือข่าย

แลนไร้สายได้ สามารถดูรายละเอียดของสายอากาศกำลังสูงได้จากเว็บไซต์www.hyperlinktech.com
7.4.3 Wireless Broadband Router เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ ADSL ซึ่งออกแบบมาสำหรับจุดประสงค์การใช้งานอย่างหลากหลายเป็นทั้ง Router, Switch
และ Access Point ปกติ ผู้ผลิตจะออกแบบมาให้มีพอร์ตเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แบบใช้สายจำนวน
4 พอร์ต แต่ผู้ผลิตหลายรายก็ออกแบบอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กขนาดพ็อกเก็ตที่มีปุ่มสลับโหมดการทำงานมาให้ใช้ ซึ่งเหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง (การเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย2548)

รูปที่ 16 Wireless Broadband Router

7.4.4 PoE (Power over Ethernet) Adapter เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับแก้ไขข้อยุ่งยากในการเดินสายไฟฟ้าเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไร้สาย โดยหันมาใช้วิธีการจ่ายไฟผ่านสายนำสัญญาณ UTP ที่ยังมีคู่สายที่ยังไม่ถูกนำมาใช้งานมาทำหน้าที่แทน ซึ่งอุปกรณ์PoE Adapter จะมี 2 ส่วนคือ Power Injector เป็นอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าและนำสัญญาณข้อมูลจาก Switch Hub เข้าไปสายนำสัญญาณสู่อุปกรณ์ไร้สายอย่าง Access Point และอีกอุปกรณ์เป็น Spliter ที่ใช้แยกสัญญาณข้อมูลและไฟฟ้าให้กับ Access Point ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันออกแบบให้ Switch สนับสนุนมาตรฐาน IEEE802.3af (PoE) มาพร้อมด้วย (การเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย 2548)



รูปที่ 17 PoE (Power over Ethernet) Adapter

8. คุณสมบัติอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย
การเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้งานกับเครือข่ายไร้สายนั้น มีข้อพิจารณาไม่ได้แตกต่างไปจาก
ผลิตภัณฑ์เครือข่ายใช้สายเท่าใดนัก โดยควรพิจารณาจากคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (Wireless LAN
Technology อิสระแห่งการเชื่อมโยงอิสระไปกับโลกไร้สาย 2549)22222222222222222222222
8.1 มาตรฐานใดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
ในปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันงานกันอยู่จะเป็นมาตรฐาน IEEE802.11g ซึ่งรองรับอัตรา
ความเร็วสูงสุดในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานโดยทั่วๆ ไป
ในปัจจุบันได้อย่างดี พร้อมกันนั้นก็ยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันกับมาตรฐานเดิมอย่าง IEEE802.11b ได้อย่างไร้ปัญหา แต่ในขณะนี้ก็เริ่มที่จะเห็นผู้ผลิตหลายๆ รายต่างส่งผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเทคโนโลยีMIMO ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เครือข่ายไร้สายที่ให้แบนด์วิดท์และให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่มากกว่ารวมถึงมีรัศมีการทำงานที่ดีกว่านั้นจะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.1g เดิม แต่ผลิตภัณฑ์ที่จะใช้งานคุณสมบัติเหล่านี้ได้อย่างเต็มพิกัดจะต้องเป็นอุปกรณ์จากซีรีส์เดียวกัน ซึ่งตอนนี้ยังมีราคาแพงอยู่มาก ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับมาตรฐาน IEEE802.11g จึงยังคงเป็นมาตรฐานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด
8.2 ระบบอินเตอร์เฟซแบบไหน
การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายมีหลายชนิดเช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กคุณสมบัติแบบไร้สายดูจะรวมมาพร้อมกับตัวเครื่องแล้ว แต่สำหรับเครื่องที่ยังไม่มีการ์ดไร้สายสำหรับโน้ตบุ๊กก็สามารถซื้อ Wireless PCMCIA Card มาใช้ได้ หรือถ้าอยากจะใช้งานร่วมกับเครื่องพีซีอย่างคุ้มค่าก็ควรเลือกการ์ดแบบ USB Adapter ซึ่งราคาอาจจะแพงแต่คุ้มค่ากับการใช้งานที่ หลากหลายกว่าสำหรับเครื่องพีซีก็สามารถใช้อินเทอร์เฟซแบบ PCI Card ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาพร้อมสายสัญญาณและเสาอากาศที่ตั้งบนที่สูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารได้
8.3 ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน
นอกจากจะสนับสนุนการทำงานในแบบ Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer แล้ว ระบบเครือข่าย
ไร้สายยังสามารถใช้ Access Point เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณกับเครือข่ายใช้สายเพื่อการแชร์การใช้
ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการได้ยืดหยุ่นกว่า

ในแบบ Insfrastructure โดยถ้าไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือติดตั้งระบบเครือข่ายมาก่อน ก็ควรจะเลือกใช้อุปกรณ์อย่าง Wireless Router ที่มีคุณสมบัติในแบบ All-in-One จะให้ความคุ้มค่าได้มากกว่า หรือถ้ามีการใช้งานเครือข่ายใช้สายและไร้สายอยู่ก่อนแต่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งาน ควรเลือก Access Point ที่สนับสนุนโหมดการทำงานแบบ Bridge และ Repeater ร่วมด้วยววว
8.4 ปกป้องการใช้งานด้วยระบบรักษาความปลอดภัย
การสื่อสารไร้สายนั้นเป็นการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้คลื่นวิทยุ ที่แพร่ไปตามบรรยากาศ
จึงต้องให้ความสนใจในการเข้ารหัสข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการดักจับสัญญาณจากผู้ไม่ประสงค์ดี
การเลือกซื้ออุปกรณ์ไร้สายจึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันการเข้ารหัสที่ใช้ ซึ่งเทคนิคที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไป
สำหรับผู้ใช้ตามบ้านคือ Wired Equivalent Privacy หรือ WEP ขนาด 64/128-bit ร่วมกับ MAC AddressFiltering แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์กรนั้นเทคนิคการตรวจสอบและกำหนดสิทธิ์การใช้งานควรใช้ WPA (Wi-Fi Protected Privacy) ซึ่งใช้คีย์การเข้ารหัสที่น่าเชื่อถือร่วมกันกับเทคนิคการตรวจสอบและการกำหนดสิทธิ์ในแบบ 2 ฝั่ง แบบอื่นๆ อย่าง RADIUS ร่วมด้วย 2222222
8.5 เสารับส่งสัญญาณของผลิตภัณฑ์
สำหรับเสาอากาศของการ์ดไร้สายนั้น ถ้าเป็นการ์ดแบบ PCMCIA และแบบ USB จะเป็นเสาอากาศ Built-in มาพร้อมตัวการ์ด ส่วนการ์ดแบบ PCI นั้นจะเป็นเสาอากาศแบบ Reverse-SMAConnector ซึ่งสามารถถอดออกได้ โดยทั่วไปจะมีทั้งแบบเสาเดี่ยวที่หมุนเข้ากับตัวการ์ด และแบบที่มีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้นหรือยึดติดกับผนังได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อเสาอากาศแบบหลัง เนื่องจากให้ความยืดหยุ่นในการติดตั้งมากกว่า เพราะสามารถติดตั้งบนที่สูงๆ ได้สำหรับอุปกรณ์อย่าง Access Point หรือ Wireless Router นั้นจะมีเสานำสัญญาณทั้งในแบบเสาเดี่ยว
และ 2 เสา โดยการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อแบบ 2 เสา เนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่า โดยลักษณะของเสานั้นจะมีทั้งในแบบที่ยึดติดกับเข้ากับตัวอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน และอีกแบบเป็นเสาที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งหัวเชื่อมต่อนั้นจะเป็นทั้งแบบ Reverse-SMA Conector, SMA Conector และแบบ T-Connector ซึ่งถ้าจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเสาอากาศควรจะเลือกซื้อจากทางผู้ผลิตรายเดียวกันเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ซื้อหัวเชื่อมต่อผิดประเภทวว
สำหรับชนิดของเสาอากาศที่มีจำหน่ายจะมี 2 ชนิดหลักๆ ก็คือ แบบ Omni-DirectionAntenna ซึ่งเป็นเสาที่ทุกผู้ผลิตให้มากับตัวผลิตภัณฑ์แล้ว โดยคุณสมบัติของเสาประเภทนี้ก็คือ การรับและส่งสัญญาณในแบบรอบทิศทางในลักษณะเป็นวงกลม ทำให้การกระจายสัญญาณนั้นมีรัศมีโดยรอบ
ครอบคลุมพื้นที่ แต่ถ้าต้องการใช้งานที่มีลักษณะรับส่งสัญญาณเป็นเส้นตรงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรับส่งและระยะทางตามต้องการก็มีเสาอีกชนิดหนึ่ง คือ Direction Antenna ซึ่งนิยมใช้งานกับอุปกรณ์ประเภท Wireless Bridge สำหรับการสื่อสารในแบบ Point-to- Point2222222
222222222222222222222
หากต้องการเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้ได้ไกลมากยิ่งขึ้น ก็สามารถเลือกซื้อเสาอากาศ High Gain ที่มีการขยายสัญญาณสูงกว่าเสาอากาศที่ทางผู้ผลิตให้มากับตัวอุปกรณ์ โดยมีให้เลือกใช้
หลายแบบทั้งในแบบที่มีค่า Gain 5, 8, 12, 14 หรือสูงกว่าได้222222222222222222222222222
8.6 กำลังส่งที่ปรับได้
สำหรับการใช้งานอุปกรณ์ไร้สายนั้น การปรับกำลังส่งสัญญาณได้นับว่าเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของตัวผลิตภัณฑ์ โดยกำลังส่งสูงสุดจะไม่เกิน 100mW หรือ 20dBm ซึ่งผู้ผลิตบางรายจะมีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนกำลังสูงสุดนี้ทีเดียว โดยค่ากำลังส่งที่มากก็แสดงว่า สามารถที่จะแพร่สัญญาณไปในระยะทางที่ไกล หรือให้รัศมีที่มากขึ้น แต่ก็สามารถปรับกำลังส่งให้ลดต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานภายในองค์กรที่จะต้องใช้กำลังส่งให้เหมาะสมกับพื้นที่เนื่องจากกำลังส่งสูงๆ อาจจะไปรบกวนสำนักงานข้างเคียงและอาจถูกลักลอบใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายก็เป็นไปได้22222222222222222222222222222222222222222222
8.7 การอัปเกรดเฟิร์มแวร์เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ
อุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Access Point, Wireless Router
หรือผลิตภัณฑ์ไร้สายประเภทอื่นๆ ทางผู้ผลิตก็อาจจะเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ ในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของฟังก์ชันการเข้ารหัส ซึ่งอุปกรณ์ ที่ผลิตออกมาก่อนหน้าจะสนับสนุน WEP, WPAซึ่งไม่เพียงพอสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูงมากกว่า ทำให้ผู้ผลิตรายต่างๆ มีการออกเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่ๆ ที่สนับสนุนการทำงานเพิ่มเติมอย่างทำให้รองรับ WPA2 ซึ่งเป็นฟังก์ชันการเข้ารหัสรุ่นใหม่ล่าสุดของอุปกรณ์ไร้สายออกมา ซึ่งผู้ผลิตจะมีเมนูเชื่อมโยงเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่มาใช้งานได้

9. การเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย
การใช้งานเครือข่ายไร้สายให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์ไร้สายด้วยเช่นกัน เพราะหากผลิตภัณฑ์ไร้สายของแต่ละผู้ผลิตไม่สามารถทำงานเข้ากันได้กับผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็จะทำให้การใช้งานเครือข่ายไร้สายด้อยประสิทธิภาพลงไป ดังนั้นเพื่อให้การใช้งาน
เครือข่ายไร้สายได้ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในแบบเต็มเปี่ยม ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจากผู้ผลิตรายเดียวกัน ซีรีส์เดียวกัน หรือถ้าเลือกใช้ต่างผู้ผลิตก็ให้แน่ใจว่า เลือกใช้ชิปเซ็ตซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีเดียวกัน ก่อนการเลือกซื้อควรตรวจสอบความเข้ากันได้ของผู้ผลิตแต่ละราย โดยสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองจาก Wi-Fi ก่อน และควรตรวจสอบในรายละเอียดเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ดังนี้ (การเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย 2548)
- ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
- รัศมีของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ครอบคลุมถึง
- ความเข้ากันได้กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่น
- Access Point หรือผลิตภัณฑ์ไร้สายอื่นมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณและ
กำลังส่งได้
- ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ
- การติดตั้งที่ง่ายและสะดวกในการใช้งาน
- ฟังก์ชันในการเข้ารหัสสัญญาณที่ใช้เพื่อความปลอดภัย
- มีการพัฒนาและมีซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ของผู้ผลิต
- ผลิตภัณฑ์มีไฟแสดงสถานะการทำงาน
- ผลิตภัณฑ์มีเครื่องหมายแสดงการผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจาก Wi-Fi Alliance


รูปที่ 18 ตราสัญลักษณ์ Wi-Fi ผ่านการรับรองความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์



รูปที่ 19 ตราสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์สนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.11a/b/g

10. ความปลอดภัยของเครือข่ายไร้สาย
การไม่หาทางป้องกันเครือข่ายไร้สายหรือชอบใช้บริการฟรีต่างๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แฮกเกอร์เจาะเข้ามาโจรกรรมข้อมูลสำคัญ ใช้เป็นแหล่งเพาะบ่มซอฟต์แวร์อันตรายหรือใช้ข้อมูลของเราไปหากินได้ แต่ความเสี่ยงดังกล่าวสามารถป้องกันได้ด้วยมาตรการง่าย ๆ ต่อไปนี้ (มาตรการเพื่อ
ความปลอดภัยของเน็ตเวิร์กไร้สาย 2549)

10.1 ใช้เครือข่ายของที่ทำงานเสมอ
หากที่ทำงานให้แลปทอปไว้ใช้ในการทำงานและสามารถเชื่อมต่อเข้าใช้งานเครือข่ายของที่ทำงาน พึงระลึกไว้เสมอว่า ควรใช้ระบบไร้สายผ่านเครือข่ายส่วนตัวแบบเสมือน หรือ VirtualPrivate Networks (VPNs) เพื่อซ่อนการสื่อสารของเราไว้กับเครือข่ายของที่ทำงาน
10.2 ทำความสะอาดลิสต์การใช้งานอยู่เสมอ
ลิสต์การใช้งานเปรียบเหมือนหน่วยความจำในการเรียกสายอีกครั้งของโทรศัพท์หรือรีไดอัล ซึ่งจะทำการบันทึกการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ถูกใช้บ่อยครั้งมากที่สุด ดังนั้นหากใช้งานระบบVPNs ในที่สาธารณะไม่ควรปิดแลปทอปและเดินจากไปเฉยๆ แต่ควรทำการยกเลิกการเชื่อมต่อเมื่อเลิกการใช้งานทันที มิเช่นนั้น แลปทอปจะทำการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของสถานที่นั้นแทนที่ระบบVPNs เมื่อกลับมาใช้งานยังสถานที่ดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้แลปทอปไม่ปลอดภัย
10.3 เสริมความปลอดภัยให้กับให้กับเราเตอร์
โดยปกติแล้วเมื่อนำเราเตอร์ที่เพิ่งซ้อมาใช้งาน ระบบความปลอดภัยของเราเตอร์ดังกล่าวจะยังไม่ทำงานโดยอัตโนมัติ ดังนั้น ควรทำการเปิดระบบความปลอดภัยของเราเตอร์ก่อนใช้งาน ซึ่งอาจหาได้จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตเราเตอร์ดังกล่าว และเมื่อทำการเปิดระบบความปลอดภัยเสร็จสิ้นแล้ว สามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้โดยการใช้ Wi-fi Scan ซึ่งเป็นฟรีแวร์จาก McAfee
10.4 ใช้รหัสผ่านที่มีประสิทธิภาพ
รหัสผ่านถือเป็นปราการด่านสำคัญในการเข้าใช้งานระบบหรือแลปทอป ดังนั้นหาก
เลือกใช้รหัสผ่านที่ไม่มีประสิทธิภาพก็เท่ากับเป็นการเปิดช่องโหว่และเชื้อเชิญให้แฮกเกอร์เข้ามาเจาะระบบได้
10.5 เสริมความปลอดภัยในการใช้เว็บเมล
ควรทำการติดต่อผู้ให้บริการอีเมลเพื่อบอกถึงวิธีในการเสริมความปลอดภัยให้กับเว็บเมลของเรา ซึ่งมีให้เลือกหลายวิธี แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการอีเมลส่วนมากจะไม่เปิดระบบความ
ปลอดภัยนี้โดยอัตโนมัตินอกจากนี้การหลีกเลี่ยงไม่เข้าเว็บไซต์ที่มีความสำคัญอย่างเว็บไซต์ธนาคารผ่านเครือข่ายไร้สายสาธารณะ ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งในการสร้างความปลอดภัยให้กัข้อมูล โดยเลือกใช้ผ่านเครือข่ายแบบใช้สายจะมีความปลอดภัยมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำตามมาตรการดังกล่าวข้างต้นจะช่วยให้สามารถซ่อนเครือข่ายของคุณและทำให้เครือข่ายมีควาปลอดภัยมากขึ้น แต่บางครั้งก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงแฮกเกอร์ที่มีความชำนาญสูงได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็เป็นการป้องกันความปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง

11. ประโยชน์ของเครือข่ายไร้สาย
11.1 ระบบมีความคล่องตัวสูง
ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไป ตำแหน่งใด ก็ยังมี
การเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
11.2 ง่ายต่อการติดตั้ง
สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
11.3 สามารถขยายเครือข่ายได้
เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที


11.4 ลดค่าใช้จ่าย
เป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้วระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
11.5 มีความยืดหยุ่น
เครือข่ายไร้สายเอื้อประโยชน์ต่อองค์กรในการที่สามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยากเพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก

12. การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายไร้สายกับองค์กร
สุวศรี เตชะภาศ (2548) ได้กล่าวถึงการนำเครือข่ายไร้สายไปประยุกต์ใช้กับองค์กรต่างๆ ดังนี้
12.1 กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่
องค์กรต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ พนักงานต้องติดต่อสื่อสารกับองค์กรตลอดเวลาไม่ว่าจะใช้อีเมลการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรโดยไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน การจัดประชุม ผู้เข้าประชุมที่ต้องใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลสามารถนำโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์มือถือเข้าประชุมได้โดยไม่ต้องเดินสายสัญญาณ หรือกรณีห้องประชุมไม่ว่าง อาจใช้สถานที่อื่น ที่อยู่ในรัศมีของเครือข่ายไร้สายประชุมแทนได้
12.2 กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME)
กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือผู้ใช้ตามบ้านที่ต้องการใช้งานระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เช่น พรินเตอร์ จำนวนไม่มากนัก ไม่ต้องการลงทุนเรื่องการเดินสายหรือเจาะผนังบ้านเพื่อวางระบบ สามารถปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆได้ง่ายไม่ต้องรื้อสายและเดินสายใหม่

12.3 สถานที่สาธารณะที่ให้บริการ Hot Spot
ยกตัวอย่างเช่น สนามบิน นักธุรกิจที่อยู่ระหว่างรอเครื่องบินสามารถเช็คอีเมล์ลูกค้าอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์บนเว็บไซต์
12.4 กลุ่มธุรกิจโรงแรม
ยกตัวอย่างเช่น โรงแรมที่ต้องการนำศักยภาพทางเทคโนโลยีมาสร้างรายได้ และโอกาสทางธุรกิจเป็นการสร้างข้อได้เปรียบเชิงแข่งขัน และความพึงพอใจแก่กลุ่มลูกค้านักธุรกิจ โดยการนำระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบอร์ดแบนด์ มาให้บริการแก่ลูกค้า แต่ปัญหาคือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องรื้อ
วอลเปเปอร์ปูผนัง พรม ฯลฯ เพื่อเดินสายสัญญาณใหม่ รวมถึงการสูญเสียรายได้จากค่าห้องพัก ห้องจัดประชุมสัมมนาที่ กำลังซ่อมแซมด้วย ดังนั้นระบบเครือข่ายไร้สายจึงเป็นคำตอบที่ลงตัว เนื่องจากไม่ต้องเดินสายสัญญาณใหม่ทั้งหมด เพียงติดตั้ง Access Point ตามจุดต่างๆ ใหครอบคลุมบริเวณที่ต้องการเปิดใหลูกค้าโรงแรมใช้ งานอินเตอร์ เน็ต ตัวอย่างโรงแรมที่ประสบความ สำเร็จในการนำระบบเครือข่ายไร้สายมาให้บริการลูกค้าร่วมกับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงคือ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ ลากูน่า ภูเก็ตซึ่งเป็นโรงแรมกึ่งรีสอร์ทระดับ 5 ดาว
12.5 สถาบันการศึกษา ห้องสมุด
ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลั ยเกษตรศาสตร์มีการสร้างเครือข่ายไร้สายมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ หรือ KUWiN (Kasetsart University Wireless Network) เริ่มแรกเพื่อวางระบประชุม
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) อำนวยความสะดวกแก่ผู้บริหารที่ใช้โน้ตบุ๊ก ต่อมาร่วมมือกับสำนัก
หอสมุดติดตั้งเครือข่ายให้ครอบคลุมทั้งหอสมุด และขยายไปยังอาคารอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย
เป็นการเสริมระบบเครือข่ายใช้สาย สนับสนุนโครงการ e-University ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวขับเคลื่อน ช่วยให้นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยทำงานได้อย่างคล่องตัวในสถานที่ต่างๆโดยไม่ต้องหาจุดต่อสายเครือข่าย KUWiN เปิดให้บริการแก่นิสิต นักศึกษาบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยต้องนำหมายเลขการ์ดเครือข่ายไร้สายมาลงทะเบียนก่อนโดยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ และสำ หรับผู้ที่ไม่มีการ์ดเครือข่ายไร้สาย ทางสำ นักหอสมุดของมหาวิทยาลัยมีบริการให้ยืมการ์ดเครือข่ายไร้สาย คล้ายการให้บริการยืมเอกสารโดยทั่วไป

13. แนวโน้มเครือข่ายไร้สายในอนาคต
แนวโน้มของเครือข่ายไร้สายในอนาคตนั้นมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนอง
ความต้องการในปัจจุบัน โดยถ้ามองในภาพรวมแล้วจะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้
- สามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกรูปแบบ
- ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเพิ่มมากขึ้น
- สามารถใช้เทคโนโลยีร่วมกันได้
- อุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายมีขนาดเล็กและราคาถูกลง
- ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น
- สนับสนุนข้อมูลทุกรูปแบบ ทั้งเสียง วิดีโอ และข้อความ
และหากมองว่าในอนาคตอันใกล้นี้เทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น คงหนีไม่พ้น
กระแสความแรงของเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า WiMAX ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับการจับตามองว่าเป็น
เทคโนโลยีที่จะเข้ามาแทนที่ Wi-fi ด้วยกระแสที่มาแรงนี้เราจึงควรทราบว่าแท้จริงแล้ว WiMAX
คืออะไร และจะมาแทนที่ Wi-fi ได้อย่างไร

13.1 WiMAX คืออะไร
WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยี
บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and ElectronicsEngineers) ซึ่งมีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่าWiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่า (WiMAX Technology 2549)
13.2 มาตรฐานของเทคโนโลยี WiMAX
13.2.1 IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 – 4.8 กิโลเมตรเป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) 13.2.2 IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่
ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา ( NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบ
เครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำ การที่ไกลถึง 31ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 รายและการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน13.2.3 IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 – 4.8 กิโลเมตรมีระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
13.3 จุดเด่นของ WiMAX
13.3.1 ความเร็ว สำหรับ WiMAX นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลมากถึง 30 ไมล์ หรือ
48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทั้งก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องของสัญญาณสะท้อนอีกด้วย222
13.3.2 การบริการที่ครอบคลุม นอกจาก WiMAX จะใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่ให้ความคล่องตัวในการใช้งานสูง และเปี่ยมประสิทธิภาพแล้ว มาตรฐาน IEEE 802.16a ก็ยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีซึ่งขยายพื้นที่การให้บริการให้กว้างขวางมากขึ้นได้222222222 222
13.3.3 ความสามารถในการขยายระบบ WiMAX นั้นมีความสามารถในเรื่องการรองรับการ
ใช้งานแบนด์วิดท์, ช่องสัญญาณสำหรับการสื่อสารได้ด้วยความยืดหยุ่น โดยสามารถปรับให้สอดคล้องกับแผนการติดตั้งเซลล์ในย่านความถี่ที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือ ย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก อาทิเช่น ถ้าโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการนั้นได้รับคลื่นความที่ 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็สามารถที่จะทำการแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละส่วนได้อีกด้วย222222222222222222
13.3.4 ระบบรักษาความปลอดภัย นับเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งอยู่ในมาตรฐาน WiMAX ที่จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาตรฐานWiMAX นั้น มีองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Nokia, Intel, Proxim,
Fujitsu, Alvarion ฯลฯ ที่มีชื่อเรียกกันว่า WiMAX Forum ขึ้น เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางของเทคโนโลยี บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทำหน้าที่ท ดสอบและออกใบรับรอง ให้แก่อุปกรณ์ที่ใช้อุปกรณ์ ไร้สายระบบใหม่มาตรฐาน IEEE 802.16 จะถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่า WiMAX เช่นเดียวกับที่มาตรฐาน IEEE 802.11 เคยได้รับการรู้จักในชื่อ Wi-Fi มาแล้วแม้ว่าในขณะนี้ WiMAX จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่าง
แพร่หลาย แต่ WiMAX ก็ถือว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีอนาคตสดใส เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเข้ามาช่วย.
ตอบสนองความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วได้
เป็นอย่างดี และหากมองถึงประโยชน์ในการขยายเครือข่ายบรอดแบนด์ให้เข้าถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล
แล้ว ผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทุกคนที่จะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงอย่าง
เท่าเทียมกัน รวมไปถึงการช่วยสร้างรายได้และโอกาสทางการตลาดให้กับเหล่าโอเปอเรเตอร์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย รวมทั้งบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
และเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้เราจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยี WiMAX อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับที่ Wi-Fi ประสบความสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้






14. สรุป
ปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในสังคมเป็นอย่างมาก ไม่ว่า
จะเป็นด้านค้าธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีการเรียนการสอนในระบบ E-learning แต่ในอดีตการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังเป็นแบบที่ต้องใช้สายในการเชื่อมต่อ และปัญหาทางด้านความยืดหยุ่น เพราะไม่สามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ได้ แต่ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายได้เข้ามีบทบาท ทำให้การเชื่อมต่อแบบไร้สายได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ในสถาบันการศึกษาจึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายเข้ามาใช้ในองค์กร ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบาย เพราะสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ตามความพอใจ แต่การที่ จะทำการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไร้สายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบดังกล่าว ซึ่งองค์กรหรือผู้ใช้ที่ต้องการใช้ระบบเครือข่ายไร้สายนั้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเภทของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ ควรทราบประเภทของอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมี เพราะอุปกรณ์แต่ละประเภทจะมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปอย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย คือต้องดูความเหมาะสมในการใช้งานเพราะในบางครั้งเรามักจะเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย แต่อาจใช้งานจริงเพียง 2-3 ฟังก์ชันเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าเราใช้งานได้ไม่คุ้มค่ากับอุปกรณ์นั้นๆ และก่อนที่ตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ใด ๆ ควรมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของ
การใช้งานในอนาคต เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งต้องตรวจสอบว่าอุปกรณ์ที่เราจะซื้อนั้นผ่านการรับรองมาตรฐานเรียบร้อยแล้ว เพื่อความมั่นใจในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆและเพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่ดี มีความเหมาะสมกับการใช้งาน และสามารถใช้อุปกรณ์นั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด












บรรณานุกรม
“การเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย(Wireless LAN).” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.buycoms.com/upload/guide/wll/wll.htm สืบค้น 19 มกราคม 2553
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. “การออกแบบและติดตั้งเครือข่ายแลนไร้สาย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://home.dsd.go.th/techno/e-book/pdf/outsources/WLAN/wirlessLAN_pdf_part1.pdf
สืบค้น 19 มกราคม 2553.
นิพัฒน์ เอี่ยมสมบูรณ์. “ระบบเครือข่ายแลนไร้สาย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://ite.nectec.or.th/modules.php?name=News&file=article&sid=95.
สืบค้น 19 มกราคม 2553.
ไพโรจน์ ไววานิชกิจ. “มองไกลสื่อสารไร้สายไทย” ไมโครคอมพิวเตอร์ 24, 246 (2549): 61-67.
“มาตรการเพื่อความปลอดภัยของเน็ตเวิร์กไร้สาย.” Business.com 18, 209 (2549): 101.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ความรู้พื้นฐานเครือข่ายไร้สายแบบต่างๆ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://kuwin.ku.ac.th/wireless_lan.html. สืบค้น 19 มกราคม 2553.
มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. “ระบบเครือข่ายไร้สาย.” [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก http://www.kmutt.ac.th/wireless/aboutwireless.htm.
สืบค้น 19 มกราคม2553.
สถานศึกษาวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “ระบบเครือข่ายไร้สายคืออะไร.” [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก http://www.eng.cmu.ac.th/wi-fi_Zone/sub_menu1.php. สืบค้น 19มกราคม 2553.
“ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Lan).” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/194/. สืบค้น 19 มกราคม 2553.
สุวศรี เตชะภาส. “ระบบเครือข่ายไร้สาย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/sti_1_wireless_LAN.pdf.
สืบค้น19 มกราคม 2553.
เอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ. “WiMAX เทคโนโลยีสำหรับบรอดแบนด์ "ไร้สาย".”
ไมโครคอมพิวเตอร์ 24, 246 (2549): 94-99.
“WiMAX Technology.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaiinternetwork.com/content/detail.php?id=0270. สืบค้น19 มกราคม2553
.“Wireless LAN คือ?.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaiwirelesslan.com/modules.php?name=News&file=article&sid=2.
สืบค้น19 มกราคม 2553.